[อมก๋อย] การเดินทางต่อจากกระทู้ที่แล้ว จาก ต.สบโขง เราเดินทางย้อนกลับมาตั้งหลักกันใหม่ที่ตัว อ.อมก๋อย เพื่อสำรวจเล้นทางใหม่ โดยเป้าหมายคร่าวๆ คือ บ้านห้วยจิโน ซึ่งบริเวณใกล้นั้นจะมี
หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน นักท่องเที่ยวสามารถแวะพักกางเต็นท์ได้ มีจุดชมวิวที่สวยงาม นักท่องเที่ยวแนวธรรมชาติ แนวลุยๆ แนวออฟโรด น่าจะรู้จักกันดีพอสมควร สภาพเส้นทางค่อนข้างลำบากพอสมควร มีทางคอนกรีตสลับดินลูกรังบ้างในช่วงแรกๆ รถยนต์ควรเป็นรถกระบะสูงๆหน่อยและถ้าเป็น 4x4 ได้ยิ่งดีครับ การเดินทางเราสามารถไปได้ 2 เส้นทางครับ แยกทางเข้าจะอยู่ใกล้ๆกันครับ คือเส้นทางบ้านขุนตื่น เส้นทางนี้จะถึงบ้านยองแหละก่อนถึงบ้านห้วยจิโน อีกเส้นทางนึงก็จะเลยทางเข้าตรงนี้ไปสักหน่อยครับ จะไปทางบ้านแม่ระมีดหลวง เส้นทางนี้จะถึงบ้านห้วยจิโนก่อนครับ แล้วจึงต่อไปบ้านยองแหละ ทั้ง 2 ทางจะมีป้ายบอกอยู่ครับ เราจึงลองวิ่งทั้ง 2 ทางเลยโดยไปทางแม่ระมีดหลวงและวนกลับทางบ้านขุนตื่น
ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยจิโนศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยจิโน ตั้งอยู่หมู่ที่ 15 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2544 โดยใช้บริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อชาวบ้าน ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ร่วมกันสร้างศูนย์การเรียนฯหลังใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2544 ณ บริเวณแปลงเพาะกล้าไม้ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ได้รับงบประมาณก่อสร้างจาก คุณธยาพล นงนุช หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอราวัณ กล่องกระดาษ บริษัท ซีเค เชียงใหม่ ชาวบ้านและศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภออมก๋อย ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.2553 ได้มีชาวบ้านจำนวน 6 หลังคาเรือน ได้มีการย้ายบ้านเรือนไปสร้างที่อยู่ใหม่ ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางเหมาะสมที่จะสร้างบ้านเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ย้ายศูนย์การเรียนฯมาด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจาก กศน.อมก๋อย และหน่วยงานเอกชนจาก กรุงเทพฯ ช่วยสมทบทุนในครั้งนี้ด้วย โดยอาคารเรียนหลังนี้เป็นหลังคามุงกระเบื้อง เป็นอาคารเรียนถาวรที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้งบจากบิ๊กซีโดยที่เงินผ่านมูลนิธิสมเด็จพระเทพราชสุดาสยามราชกุมารีจำนวน 100,000 บาท และได้ก่อสร้าง ศศช.ขึ้นใหม่ในปัจจุบัน
จำนวนนักเรียนปี 2559ระดับชั้น อนุบาล1 ถึง ป. 6
มีนักเรียนทั้งหมด 14 คน ชาย 1 หญิง 13
มีคุณครู 2 ท่าน คือ
คุณครู แสงอรุณ อุทัยผล ประจำตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน
คุณครู นรินทร์ ก้านต่อดอก ประจำตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติหมู่บ้านห้วยจิโนหมู่บ้านห้วยจิโน ตั้งอยู่หมู่ที่ 15 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ประชากรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์) มีฐานะยากจน มีอาชีพเป็นลูกจ้างหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน อพยพมาจากพื้นที่หลายหมู่บ้าน ทั้งบ้านยองแหละ บ้านแม่ระมีด ซึ่งสร้างบ้านเรือนอยู่ใกล้กับแปลงเพาะทั้งสองฝั่งห้วยจิโน มีบ้านทั้งหมด 15 หลังคาเรือน มี 18 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 102 คน ชาย 39 คน หญิง 63 คน ต่อมาเมื่อต้นปี 2553 ทางหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน ได้รับงบประมาณในการจ้างคนงานลดลงจึงจำเป็นต้องลดเวลาการทำงานลงทำให้ชาวบ้านมีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายในครัวเรือน จึงอพยพถิ่นฐานมาสร้างบ้านเรือนอยู่ห่างจากหมู่บ้านเดิม ประมาณ 3 กิโลเมตร ทำให้ชาวบ้านสามารถปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนและทำไร่ ซึ่งชาวบ้านได้ย้ายมาในตอนแรก 8 หลังคาเรือน และที่เหลือค่อยๆทยอยย้ายมาจนหมด
จำนวนประชากร ปี 2559หญิง 39 คน
ชาย 24 คน
จำนวนบ้าน 20 หลังคา
อาณาเขตติดต่อทิศเหนือ ติดกับ บ้านแม่ระมีดหลวง
ทิศใต้ ติดกับ บ้านแม่ลอก
ทิศตะวันตก ติดกับ หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยจิโน
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านยองแหละ
ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านยองแหละศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านยองแหละ หมู่ที่ 15 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ มีพิกัดที่ MV 2026538 จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการดอยเป้เป้อ โดยมีครูคนแรกที่มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ครูถวิล ดวงใจ โดยขณะนั้นมีนายมูเซ รุ่งโรจน์ประชาชื่น ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เริ่มแรกยังไม่มีศูนย์การเรียนได้ใช้สถานที่บ้านนายมูเซ จัดการเรียนการสอนชั่วคราว ต่อมาครูประจำศูนย์การเรียนได้ร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่ดำเนินการสร้างศูนย์การเรียนฯขึ้น โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น
หลังจากนั้นในปี 2547 ได้รับงบประมาณจาก UNESCO มูลนิธิคาร์ฟูล์ประจำประเทศไทย ได้รับสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนไม้ 1 หลัง โดยประสานผ่าน ศบอ.อมก๋อย (ซื่อสถานศึกษา สังกัด กศน. ในขณะนั้น) ครูนิเทศก์ ครูประจำศูนย์ศศช. และชาวบ้านยองแหละร่วมกันดำเนินการก่อสร้าง และใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาลครูนิเทศก์ ครูประจำศูนย์ ศศช. และชาวบ้านยองแหละร่วมกันดำเนินการก่อสร้างและใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาลและได้ตั้งชื่อว่า “อาคารเรียนรวมใจ”
ปี พ.ศ. 2556 โครงการคืนร้อยยิ้มสู่ถิ่นไกล นำโดยคุณณรงค์ แม่นปืน และกลุ่มเพื่อนพอเพียง ได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 2 หลัง ได้แก่ “ อาคารเรียนคืนรอยยิ้มสู่ถิ่นไกล 1” อาคารเรียนคืนรอยยิ้มสู่ถิ่นไกล 2” และห้องน้ำนักเรียนจำนวน 4 ห้อง พร้อมทั้งสร้างอาคารอาบน้ำสำหรับนักเรียนอนุบาล และระบบสาธารณูปโภคในศูนย์การเรียนฯ ได้แก่ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ภายในศูนย์การเรียนทั้งหมด ซึ่งได้มีพิธีมอบอาคารเรียน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556
ทั้งนี้ทางคณะครูและชาวบ้าน ได้ใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านยองแหละ และคนในชุมชนมาโดยตลอด
นักเรียน ศศช.ยองแหละ ปี 2559ระดับชั้น อนุบาล1 ถึง ป.6
นักเรียนชาย 53 คน นักเรียนหญิง 43 คน รวมทั้งหมด 96 คน
คุณครู 2 ท่าน คือ
นางกฤษดาพร แสนศรี
นางเลิศขวัญ วงค์แต๋
ทำเนียบคฯะกรรมการศูนย์การเรียนฯนายโป๊ะโด่ย รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง ประธาน
นายโดยแซ พยุงมาลัย ตำแหน่ง รองประธาน
นายแกพะ รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง กรรมการ
นายพะแยซอ รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง กรรมการ
นายกังแฮ รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง กรรมการ
นางสาวสวยพะ รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง เลขานุการ
นายกอแย รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง อาศาสมัคร กศน.
นางสาวพิมพร รุ่งโรจน์ประชาชื่น ตำแหน่ง อาศาสมัคร กศน.
นางกฤษดาพร แสนศรี ครู ศศช. ที่ปรึกษา
นางเลิศขวัญ วงค์แต๋ ครู ศศช. ที่ปรึกษา
ข้อมูลชุมชนบ้านยองแหละบ้านยองแหละตั้งอยู่ในหมู่ที่ 15 ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ บ้านยองแหละนั้นตั้งชื่อตรงกับแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ประชากรในหมู่บ้านนั้นเป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงโปว์ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือ ผีสาง ในทุกๆ ปี ก่อนที่ชาวบ้านจะทำการปลูกข้าวไร่ จะมีพิธีกรรมเลี้ยงผีเพื่อจะดูว่าในปีนี้จะทำการเกษตรได้ผลดีหรือไม่อาชีพชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการปลูกข้าวไร่และหาของป่า เลี้ยงสัตว์ตลอดจนการรับจ้างทั่วไป สำหรับการไปรับจ้างประกอบอาชีพที่ในตัวเมืองหรือต่างจังหวัดจะมีส่วนน้อย
อาณาเขตติดต่อทิศเหนือติดต่อกับ บ้านแม่ระมีดหลวงตำบลอมก๋อย
ทิศใต้ติดต่อกับ บ้านขุนตื่นตำบลสบโขง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่บ้านรังบี้ตำบลอมก๋อย
ทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่บ้านแม่โขงตำบลนาเกียน